วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระเบียบกองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม


ระเบียบข้อบังคับ
กองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม 

เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนชุมชนเคหะร่มเกล้า โซน 1 ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสร้างนิสัย การอดออม เสียสละ เอื้ออาทร และเป็นไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกในชุมชนโดยรวม จึงได้เห็นสมควรกำหนดระเบียบการ เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนชุมชนเคหะร่มเกล้า โซน 1 ไว้ดังนี้

ข้อที่ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า กองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม

ข้อที่ 2. ที่ตั้งกองทุน: เลขที่ 180 หมู่ที่ 5 ซอย นวมินทร์ แยก6/1 ถนนนวมินทร์
                             แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240
                             โทร. 0-2915-0488

ข้อที่ 3. ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป

ข้อที่ 4. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน
          4.1 เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้กับสมาชิก
          4.2 เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ด้วยวิธีการถือหุ้น การฝากเงินสัจจะ และเงินรับฝาก
          4.3 เพื่อให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก
          4.4 เพื่อพัฒนาจิตใจสมาชิกให้เป็นคนดี มีคุณธรรม 4 ประการ คือ
                  - เป็นคนมีความซื่อสัตย์
                  - เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว
                  - เป็นคนไม่มัวเมาในอบายมุข
                  - เป็นคนรู้รักสามัคคี
          4.5 เพื่อพัฒนาสมาชิกให้เป็นคนดี มีคุณธรรม 4 ประการ คือ
                  - เป็นคนเก่งเรียนใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ
                  - เป็นคนเก่งคิด คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา
                  - เป็นคนเก่งงาน ขยันการงาน และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
                  - เป็นคนเก่งคน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น
          4.6 เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างรายได้
          4.7 เพื่อส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน
          4.8 เพื่อส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิตของสมาชิก

ข้อที่ 5. แหล่งที่มาของเงินทุน ประกอบด้วย เงินสด และทรัพย์สิน มีดังนี้
          5.1 เงินที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการ
          5.2 เงินกู้ยืม
          5.3 ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
          5.4 เงินฝากสัจจะและเงินรับฝาก
          5.5 เงินค่าหุ้น
          5.6 เงินสมทบจากกลุ่ม หรือองค์กรสมาชิก
          5.7 เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ตามระเบียบที่กองทุนกำหนด
          5.8 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้โดยปราศจากภาระผูกพัน

ข้อที่ 6. คุณสมบัติของสมาชิก
          6.1 เป็นผู้ที่พำนักหรือพักอาศัยอยู่ในชุมชนสามัคคีพัฒนา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี  และเจ้าบ้านเป็นผู้ค้ำประกัน หรือผู้มาอาศัยเป็นผู้เช่าต้องเช่าอาศัยมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และมีเจ้าบ้านค้ำประกันและเจ้าบ้านต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์และจ่ายสหกรณ์อย่างสมำเสมอ
          6.2 เป็นผู้ที่มีนิสัยอันดีงาม มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นชอบด้วยกับหลักการของกองทุน และสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของกองทุน
          6.3 เป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของกองทุน
          6.4 เป็นผู้ที่คณะกรรมการกองทุน ได้มีมติเห็นชอบให้เข้าเป็นสมาชิก
          6.5 เป็นผู้ที่มีความอดทน เสียสละ และเห็นแก่ประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
          6.6 อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป หรือเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย 
          6.7 ไม่เป็นติด หรือหลงใหลการพนัน
          6.8 เป็นผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกประเภท และสิ่งผิดกฎหมาย

ข้อที่ 7. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
          7.1 ยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิกกองทุนได้ที่ทำการของกองทุน
          7.2 ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6 สามารถยื่นความจำนงสมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยตัวท่านเอง และมีสมาชิกกองทุนรับรองอย่างน้อย 2 คน
          7.3 ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนโดยชอบธรรม
          7.4 ผู้ที่ได้รับแจ้งเข้าเป็นสมาชิกต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าหุ้น ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เข้าเป็นสมาชิก

ข้อที่ 8. สมาชิกขาดหรือพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกตามเหตุต่าง ๆ ดังนี้
          8.1 ตาย
          8.2 ลาออก และได้รับอนุมัติให้ลาออกจากคณะกรรมการกองทุน
          8.3 เป็นบุคคลล้มละลาย
          8.4 เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
          8.5 ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษกระทำโดยประมาท
          8.6 ที่ประชุมใหญ่สมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมประชุม
          8.7 จงใจฝ่าฝืนระเบียบของกองทุน หรือแสดงตนเป็นปรปักษ์ หรือไม่ให้ความช่วยเหลือ หรือไม่ร่วมมือกับกองทุนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
          8.8 จงใจปิดบังความจริงอันควรแจ้งให้ทราบในใบสมัครสมาชิก
          8.9 นำทรัพย์สินของกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้
          8.10 ทราบภายหลังว่ามีลักษณะ และ/หรือคุณสมบัติไม่ตรงกับข้อ 6

ข้อที่ 9. สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สิน หรือภาระผูกพันใด ๆ กับกองทุน
          ทั้งในฐานะผู้กู้ หรือผู้ค้ำประกัน อาจขอลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาอนุญาต เพื่อให้ขาดจากสมาชิกภาพในวันที่คณะกรรมการกองทุนดำเนินการอนุญาต

ข้อที่ 10. ผู้ที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ
          อาจยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นสมาชิกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้นให้ออกโดยมติที่ประชุมใหญ่ ต้องไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป

ข้อที่ 11. การคิดค่าสมัครและธรรมเนียมแรกเข้า
          คณะกรรมการกองทุนคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิกคนละ 30 บาท และค่าหุ้น ๆ ละ 50 บาท กลุ่มหรือองค์กรคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิก 100 บาท และต้องมีสมาชิกในกลุ่มตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยสมาชิกต้องชำระเงินเมื่อได้รับพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 6 และจะต้องชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการกองทุน

ข้อที่ 12. หุ้น ๆ หนึ่งมีมูลค่าหุ้นละ 50 บาท
          สมาชิกแรกเข้า จะต้องถือหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น แต่ต้องไม่เกิน 20 หุ้น โดยสามารถชำระค่าหุ้น และเพิ่มหุ้นได้ปีละ 1 ครั้ง ในวันที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของกองทุน

ข้อที่ 13. วิธีการชำระค่าหุ้น
          สมาชิกสามารถชำระค่าหุ้น โดยชำระเป็นเงินสด

ข้อที่ 14. เงินฝากสัจจะออมทรัพย์หรือเงินฝากรายเดือนมีดังนี้
          14.1 สมาชิกกองทุนจะต้องฝากเงินสัจจะออมทรัพย์หรือเงินฝากรายเดือนทุกเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน กับกลุ่มออมทรัพย์ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 50 บาท และสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน และต้องฝากภายในระยะเวลาไม่เกินวันที่ 7 ของเดือน
          14.2 ระเบียบสัจจะออมทรัพย์ ให้ใช้ระเบียบของกองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม โดยให้ถือระเบียบนี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบกองทุนชุมชน ที่ใช้เฉพาะสัจจะออมทรัพย์เท่านั้น
          14.3 สมาชิกสามารถถอน หรือปิดบัญชีเงินฝากได้ต่อเมื่อพ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกกองทุน

ข้อที่ 15. สมาชิกพิจารณาเลือกบุคคลที่เหมาะสม
          มีความรู้ และความสามารถ เพื่อเป็นคณะกรรมการกองทุนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จำนวน 9 คน ไม่เกิน 19 คน

ข้อที่ 16. คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วย
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ
ตำแหน่ง รองประธานกรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการเลขานุการ
          ตำแหน่ง กรรมการเหรัญญิก
          ตำแหน่ง กรรมการบัญชี
          ตำแหน่ง กรรมการตรวจสอบบัญชี
          ตำแหน่ง กรรมการทะเบียน
          ตำแหน่ง กรรมการประชาสัมพันธ์
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ
          ตำแหน่ง กรรมการ

ข้อที่ 17. กรรมการกองทุน
          มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี  ในกรณีที่กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
          ในกรณีที่กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และคณะกรรมการกองทุนจะจัดให้มีการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งแทนกรรมการกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระภายในระยะเวลาสามสิบวัน
          กรรมการกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับคัดเลือกอีกได้ แต่จะตำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้

ข้อที่ 18. คุณสมบัติของคณะกรรมการกองทุน
          ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้ง และบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544

ข้อที่ 19. คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
          19.1 บริหารจัดการกองทุน ตรวจสอบ กำกับ ดูแล จัดสรรผลประโยชน์ของเงินกองทุน
          19.2 ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ หรือวิธีการเกี่ยวกับการบริหารกองทุนที่ไม่ขัดแย้งกับระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก
          19.3 รับสมาชิก และจัดทำทะเบียนสมาชิก
          19.4 สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน และอื่น ๆ
          19.5 พิจารณาการให้กู้เงินตามระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนด
          19.6 ทำนิติกรรมสัญญา หรือดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุน
          19.7 จัดหรือเรียกประชุมสมาชิกตามที่กำหนดหรือได้ตกลงกัน
          19.8 จัดทำบัญชีและส่งมอบเงินที่ได้รับการจัดสรร ดอกผล ผลตอบแทน หรือรายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่าย
          19.9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด หรือมอบหมาย

ข้อที่ 20. ประธานกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
          20.1 เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกองทุน
          20.2 เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุน
          20.3 แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามมติ หรือตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย
          20.4 ปฏิบัติงานหน้าที่อื่น ๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการกองทุน

ข้อที่ 21. ให้รองประธานกรรมการกองทุนทำหน้าที่แทนประธานกรรมการกองทุน
          เมื่อประธานกรรมการกองทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อประธานกรรมการกองทุนมอบหมายให้ทำการแทน

ข้อที่ 22. ถ้าประธานกรรมการกองทุน และรองประธานกรรมการกองทุน
          ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกคณะกรรมการกองทุนคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น ๆ

ข้อที่ 23. เหรัญญิก
          มีหน้าที่รวบรวมจัดเก็บ ดูแล รักษาเงินทุนและรายได้ของกองทุน รวมทั้งควบคุมการใช้จ่ายเงินของกองทุนให้เป็นไปอย่างรอบคอบ และเกิดประโยชน์สูงสุด
          23.1 การรับเงินจากสมาชิก ต้องมีการออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง จึงจะถือว่าถูกต้อง
          23.2 การจ่ายเงินต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจตามข้อ 31.1 และข้อ 31.2 ทุกครั้งจึงจะถือว่าถูกต้อง
          23.3 เหรัญญิก จะถือเงินสดอยู่ในมือไว้ในการดำเนินงานของกองทุนได้ไม่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อเคือน หากเกินจะต้องนำฝากธนาคารในวันรุ่งขึ้นทันที พร้อมต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบทันที หากไม่แจ้งถือว่าเหรัญญิกมีความผิดตามระเบียบข้อบังคับกองทุน

ข้อที่ 24. บัญชี
          มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ทรัพย์สินหนี้สิน และอื่น ๆ รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ

ข้อที่ 25. เลขานุการ
          มีหน้าที่ติดต่อประสานงานทั่วไป นัดประชุมกรรมการกองทุน จดและบันทึกรายงานการประชุมตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานของกองทุน

ข้อที่ 26. ตรวจสอบ
          มีหน้าที่ตรวจสอบใช้จ่ายเงินของสมาชิกที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ ว่าใช้เงินตรงตามวัตถุประสงค์ในใบสัญญาการขอกู้หรือไม่

ข้อที่ 27. ประชาสัมพันธ์
          มีหน้าที่จัดทำเอกสาร สิ่งพิมพ์ ให้ข่าวสารแก่สมาชิก และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อที่ 28. นายทะเบียน
          ให้มีหน้าที่เป็นผู้จัดเก็บ เบิก-จ่าย เอกสารเครื่องใช้สำนักงาน ของทางกองทุน พร้อมทั้งจัดเก็บทะเบียนสมาชิก

ข้อที่ 29. คณะกรรมการกองทุนต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
          แต่ถ้ามีความจำเป็นประธานอาจเรียกประชุมได้มากกว่า 1 ครั้งก็ได้ และต้องมีกรรมการกองทุนเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะครบองค์ประชุม

ข้อที่ 30. การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม
ให้ถือเสียงข้างมาก และกรรมการกองทุนคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ในกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก 1 เสียงเพื่อเป็นผู้ชี้ขาด
กรรมการกองทุนผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น

ข้อที่ 31. การลงลายมือชื่อของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม
          31.1 การลงลายมือชื่อจะต้องมีกรรมการกองทุนที่มีตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการ หรือ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการ รวม 3 คน มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนกองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม ในการเปิดบัญชีธนาคาร การเบิกจ่ายบัญชีธนาคาร รวมทั้งเอกสารทั้งปวงที่เป็นกิจการดำเนินงานกองทุน และเป็นเอกสารติดต่อหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง
          31.2 การลงลายมือชื่อในการสั่งจ่ายการดำเนินงานของสำนักงานกองทุน เช่น การอนุมัติการเบิกจ่ายจัดซื้อเอกสารอุปกรณ์การทำงาน ให้รองประธานคนที่ 2 และนายทะเบียนเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุมัติการสั่งจ่ายทุกครั้งจึงจะถือว่าการเบิกจ่ายที่ถูกต้องของการดำเนินงานแต่ต้องเกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ต่อครั้ง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการลงลายมือชื่อข้อ 31.1 ก่อนจึงจะถือว่าถูกต้องของการดำเนินงานกองทุน

ข้อที่ 32. ประเภทการกู้ยืม
          สมาชิกสามารถยื่นขอกู้เงินต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมดังนี้
          32.1 การพัฒนาอาชีพ
          32.2 การสร้างงาน
          32.3 การสร้าง และ/หรือเพิ่มรายได้
          32.4 เพื่อลดรายจ่าย
          32.5 บรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน

ข้อที่ 33. การอนุมัติเงินกู้
          สมาชิกที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากกองทุนจะต้องจัดทำโครงการขอกู้เงินโดยระบุวัตถุประสงค์ในการขอกู้เงินตามข้อ 32 อย่างชัดเจน โดยให้ยื่นคำขอกู้ดังกล่าวต่อคณะกรรมการกองทุน ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาเงินกู้

ข้อที่ 34. ลักษณะโครงการ
          สมาชิกสามารถยื่นขอกู้เงินตามข้อ 32.1-32.4 ต้องมีลักษณะหรือคุณสมบัติ คือ เป็นโครงการที่ต้องสามารถดำเนินการได้จริงมีความเป็นไปได้ทางการตลาด และสามารถเห็นได้ชัดเจนว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน

ข้อที่ 35. วงเงินกู้
          คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งไม่เกินจำนวนสองหมื่นบาท ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนมีมติเห็นควรอนุมัติเงินกู้รายใดเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ให้คณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมสมาชิก เพื่อให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด แต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งต้องไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
          โครงการที่สมาชิกยื่นขอกู้ตามข้อ 32.2 คณะกรรมการกองทุนจะเรียกเก็บเฉพาะดอกเบี้ยก่อน 2 เดือน สิ้นเดือนที่ 3 สมาชิกต้องชำระคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามจำนวนที่ได้ตกลงกับคณะกรรมการกองทุน
          โครงการที่สมาชิกยื่นขอกู้ตามข้อ 32.5 ต้องเป็นการกู้เฉพาะกิจเพื่อการอันจำเป็น หรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการกองทุนเห็นสมควร แต่จะกู้เงินเพื่อการสุรุ่ยสุร่าย หรือการเก็งกำไรไม่ได้ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน และจะกู้ได้รายละไม่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และเสียอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเงินทั่วไป

ข้อที่ 36. การดำเนินการตามโครงการที่ขอกู้ และการจัดทำรายงานสมาชิก
          ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนมีมติอนุมัติเงินกู้ยืมตามคำขอทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บันทึกความเห็นในแบบคำขอกู้ยืมเงิน พร้อมทั้งส่งสำเนาแบบคำขอกู้ยืมเงิน ตลอดจนเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุมัติเงินกู้ จะจัดแจ้งให้ผู้ขอกู้และธนาคารรับทราบโดยเร็ว

ข้อที่ 37. การทำสัญญา
          เงินกู้ทุกประเภทต้องมีการทำสัญญาไว้กับคณะกรรมการกองทุนตามแบบ และเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งสมาชิกที่ยื่นกู้ต้องจัดทำเอกสารดังรายการต่อไปนี้
          37.1 คำขอกู้เงิน
          37.2 สัญญากู้เงิน
          37.3 สัญญาค้ำประกัน
          37.4 แบบฟอร์มโครงการขอกู้เงิน

ข้อที่ 38. หลักประกันเงินกู้มีข้อกำหนดดังนี้
          38.1 เงินกู้ตามข้อ 32.1-32.4 ต้องใช้สมาชิกของกองทุนจำนวน 2 คน เป็นผู้ค้ำประกัน สำหรับเงินกู้ตามข้อ 32.5 ให้ทำสัญญาเพียงอย่างเดียว
          38.2 ถ้าสมาชิกกู้เงินเกิน 20,000 บาท ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมูลค่าหลักทรัพย์ ต้องมากกว่าจำนวนเงินกู้ 2 เท่า
ข้อที่ 39. การชำระคืนเงินกู้
          เงินชำระหนี้สำหรับเงินกู้ตามข้อ 32.1-32.4 ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้ครบภายในระยะเวลา 1 ปี โดยส่งคืนเป็นรายเดือนทุกเดือน สำหรับเงินกู้ข้อ 32.5 ให้ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 6 เดือน ทุก ๆ เดือนต้องส่งเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน
ข้อที่ 40. อัตราดอกเบี้ย
          อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 1 บาทต่อเดือน ร้อยละ 12 บาทต่อปี
          อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ร้อยละ 3 บาทต่อปี (หรือขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ)

ข้อที่ 41. ค่าปรับ
          ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาเงินกู้ ให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 0.34 ต่อวัน เว้นแต่ผู้กู้ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันการชำระหนี้จากคณะกรรมการกองทุน

ข้อที่ 42. การติดตามหนี้
          คณะกรรมการมีหน้าที่หลักในการติดตามหนี้ หากสมาชิกที่เป็นหนี้ขาดการติดต่อกับกองทุน หรือไม่ชำระเงินกู้เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระเงินกู้ ให้คณะกรรมการกองทุนดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
          42.1 ให้คณะกรรมการกองทุนเจรจากับสมาชิกผู้ขอกู้เงินกองทุนผ่อนชำระเงินกู้ตามสมควร จนกว่าจะครบตามจำนวนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย
          42.2 ให้คณะกรรมการกองทุนติดตามทวงถามการชำระเงินกู้กับบุคคลในครอบครัวของสมาชิกช่วยชำระเงินกู้
          42.3 ให้คณะกรรมการกองทุนแจ้งต่อผู้ค้ำประกันชำระเงินกู้แทนผู้กู้
          42.4 ให้คณะกรรมการกองทุนดำเนินการตามกฎหมายในการติดตามให้สมาชิกชำระเงินกู้

ข้อที่ 43. การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี สิ้นปีบัญชีของกองทุน และปิดบัญชี
          ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ปรากฏว่ากองทุนมีกำไรสุทธิ คณะกรรมการกองทุนจะนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้ดังนี้ *         
             43.1 เพื่อการพัฒนากองทุน                                                   15 เปอร์เซ็นต์
          43.2 ค่าตอบแทนคณะกรรมการฯ                                             1เปอร์เซ็นต์
          43.3 เพื่อสาธารณะประโยชน์                                                  15 เปอร์เซ็นต์
          43.4 เงินสมทบกองทุน                                                         15 เปอร์เซ็นต์
          43.5 เงินประกันความเสี่ยง                                                     10 เปอร์เซ็นต์
          43.6 ทุนผู้สูงอายุ                                                                  5 เปอร์เซ็นต์
43.7 ทุนการศึกษา                                                               10 เปอร์เซ็นต์
43.8 ทุนฌาปนกิจ                                                                 5 เปอร์เซ็นต์
          43.9 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน                                             1เปอร์เซ็นต์
          เงินกำไรสุทธิในการจัดสรรตามข้อ 43.6, 43.7 และ 43.8 ถ้าในปีใดมิได้ใช้จ่าย ให้คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจโอนมารวมกับเงินอื่น ๆ หรือรวมเงินตามข้อ 43.3 ได้
          การจัดทำบัญชีให้คำนึงถึงความถูกต้องเป็นสำคัญ การแก้ไขปัญหา การเบิกเงิน การจ่ายเงิน ปัจจุบันรัฐยกเลิกเศษสตางค์  ถ้ามีเศษสตางค์ให้ปัดออกคงบัญชีเดิมหรือโอนไปสมทบส่วนหนึ่งส่วนใด ในการจัดสรรกำไรสุทธิในปีนั้น ๆ ก็ได้ 

ข้อที่ 44. กองทุนจะจัดทำบัญชีเงินฝาก และบัญชีค่าใช้จ่ายของกองทุนอย่างรอบคอบ
          เดือนละ 1 ครั้ง แล้วติดประกาศอย่างเปิดเผย ณ ที่ทำการกองทุนให้สมาชิกทราบ โดยมีประเภทบัญชีที่จะต้องดำเนินการจัดทำดังนี้
          44.1 บัญชีฝากเงินออมทรัพย์
          44.2 รายรับ-รายจ่ายของกองทุน
          44.3 สินทรัพย์และหนี้สินของกองทุน

ข้อที่ 45. คณะกรรมการกองทุน
          จะตรวจสอบบัญชีของกองทุน รายงานการตรวจบัญชีต่อคณะอนุกรรมการสนับสนุน เพื่อทราบถึงความก้าวหน้า ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกองทุนทุก ๆ 3 เดือน และทุกรอบปี พร้อมทั้งแสดงบัญชีกำไร ขาดทุน และงบดุลในปีบัญชีภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันสิ้นปีบัญชี

ข้อที่ 46. ให้คณะกรรมการกองทุนนัดสมาชิกประชุมใหญ่สามัญประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          โดยมีวาระการประชุมดังนี้
          46.1 ประธานกล่าวเปิดประชุม
          46.2 เรื่องที่จะแจ้งให้ทราบ
          46.3 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
          46.4 พิจารณาเรื่องที่ค้างในที่ประชุมครั้งก่อน
          46.5 บัญชีรายงานฐานะทางการเงิน
          46.6 วาระที่ต้องพิจารณา
          46.7 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
          46.8 สรุปผลและปิดการประชุม



บทเฉพาะการ

ข้อที่ 47. บรรดาประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับ และระเบียบต่าง ๆ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ใช้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบข้อบังคับนี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการแก้ไข หรือยกเลิก

ข้อที่ 48. ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการกองทุนประเมินการดำเนินงานตามระเบียบนี้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป

ข้อที่ 49. ให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้รักษาการณ์ตามระเบียบ

ให้ไว้ ณ วันที่ 8 กุมพาพันธ์  พ.ศ. 2556

                                               
(นายสุภาพ    ตันเต็ง)
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุมชนสามัคคีพัฒนา เขตบึงกุ่ม








2 ความคิดเห็น:

  1. สอบถามค่ะเราไม่ได้เปนสมาชิกกองทุนแต่แม่เราเปนสมาชิกอยุ่เราสามารถให้แม่กุ้ยืมเงินมาให้เราได้ไหม เราเปนคนส่งคืนทุกๆเดือนโดยใช้ชื่อแม่ คือมันมีหัวหน้ากลุ่มมาบอกว่าเราไม่สามารถกุ้ได้เราเปนคนเหนแก่ตัวเอาเปรืยบคนอื่นคือแม่เราเปนคนกุ้แลืวเอาตังมาให้เราแต่เราเปนคนส่งคืนทุกๆเดือนนะไม่เคยขาดส่ง ถึงเราไม่เปนสมาชิกแต่เรามีความรับผิดชอบนะประเด็นคือเขาพยายามบังคับให้เราฝากเงินออมกับเขาแต่เราไม่ฝากเขาเลยไม่อยากให้เรากุ้เงินคือมันต่างกันตรงไหนถึงแม่กุ้เงินแต่เราก้อเสียดอกตามระเบียบเขานะ

    ตอบลบ
  2. Playtech casino review - JTM Hub
    For any casino fan, the 목포 출장안마 first thing you need to do is 강원도 출장마사지 play online slots at the top. 제주 출장샵 It's 충주 출장마사지 really a no download no registration bonus. It's a no 안성 출장마사지

    ตอบลบ